Google AnalyticsGoogle Tag Manager

สมัคร google analytics ว่าแต่มันคืออะไร : GA Part 1

สมัคร Google Analytics คุณรู้หรือปล่าว การสมัคร นั้นมีขั้นตอนแค่ไม่กี่ขั้นตอนก็สามารถ มี account google analytics ได้แล้ว ทาง ridshare มาบอกขั้นตอนวิธีสมัครให้ทำตามได้เลยครับผม ก่อนอื่นมาทำความรู้จัก google analytics กันก่อนว่าคืออะไร

 

Google Analytics คือ เครื่องมือของ google ที่ใช้ช่วยในการวิเคราะห์และเก็บสถิติต่างๆ ของผู้เข้าชมเว็บไซต์ เพื่อนำข้อมูลไปทำการตลาด การทำโฆษณาออนไลน์ หรือปรับปรุงเว็บไซต์ให้น่าสนใจ จะส่งผลให้สามารถเพิ่มยอดขายเพิ่มขึ้นตามไปด้วย เช่น มีคนเข้าหน้าแรกกี่คน ส่วนนี่ที่เราต้องการให้คนกด หรือคนใช้งาน จริงๆ แล้วมีการใช้งานไปเท่าไรแล้ว นับตั้งแต่วันที่เดือน 2 ถึงเดือนปัจจุบัน เป็นต้น

 

Google Analytics ทำอะไรได้บ้าง

  • ไว้ดูสถิติต่างๆ เช่น จำนวนคนเข้าออกเว็บไซต์
  • ปรับปรุงโครงสร้างเว็บไซต์ให้ตอบโจทย์ของผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น โดยจากการดูสถิติ
  • รู้ว่าอุปกรณ์ไหนที่ผู้ชมใช้เข้าเว็บไซต์เรามากที่สุด
  • แหล่งที่มา ที่เข้ามาเว็บไซต์เรามาจากแหล่งไหน เว็บใด
  • โปรโมชั่นใด ที่เราสร้างขึ้นมาแล้วลูกค้าชอบ และสั่งซื้อมากที่สุด
  • เมนูไหน ผู้ชมชอบคลิกมากที่สุด
  • เขาใช้ระยะเวลาเท่าไรในการอยู่หน้าแรก และหน้าอื่นๆ
  • สร้าง goal (เป้าหมาย) เพื่อประเมินว่า ผู้ชมทำ goal ที่เรากำหนดไว้ มากน้อยเพียงใด
  • รู้ว่าขณะนี้ มีผู้ชม ใช้งานบนเว็บไซต์เราอยู่กี่คน
  • และอื่นๆ อีกมากมาย

 

เป็นยังไงบ้างครับ อ่านมาถึงจุดนี้ก็พอจะทราบคร่าวๆ ว่า ประโยชน์หรือตัว google analytics นั้นดี มีประโยชน์ ต่อเว็บไซต์ของเรามาก

ผมบอกไว้เลยว่า google analytics  มันเป็นเครื่องมือที่สำคัญมากๆ ไม่ว่าจะเป็น นักการตลาดออนไลน์, blogger, เจ้าของธุรกิจ, หรือเจ้าของเว็บไซต์ ต่างก็อยากจะใช้กันทั้งนั้น

 

ขั้นตอนการสมัคร Google analytics

1. เข้าไปที่เว็บ Google Analytics

2. กดปุ่ม “สมัครใช้งาน

register-ga - สมัคร google analytics

 

3. แบบฟอร์มสมัคร >>> กรอกข้อมูลต่างๆ ตามภาพ เมื่อกรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้ว เลื่อนลงมาด้านล่าง กดปุ่ม “รับรหัสการติดตาม” >>> กดยอมรับเงื่อนไข

form-register-ga - สมัคร google analytics

ในส่วนของบัญชีใหม่ ระบบจะถามว่า “คุณต้องการติดตามอะไร” แบ่งออกเป็น 2 ประเภท 1. เว็บไซต์ 2. แอปบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ จากภาพด้านบน จะเห็นว่าผมเลือก เว็บไซต์ เนื่องจากผมต้องการติดตาม เว็บไซต์

 

ชื่อบัญชี (จำเป็นต้องระบุ) : ตั้งชื่ออะไรก็ได้ แต่ควรจะสื่อถึงเว็บไซต์ หรือแอปของคุณ เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ

การตั้งค่าพร็อพเพอร์ตี้ของคุณ

ชื่อเว็บไซต์ (จำเป็นต้องระบุ) : ใส่เป็นชื่อ โดเมน ของคุณก็ได้

URL ของเว็บไซต์ (จำเป็นต้องระบุ) : ส่วนด้านหน้าจะมีให้เลือกระหว่าง http:// และ https:// ถัดจากนั้นจะเป็น กรอก url ของเว็บไซต์เรา (ผมอยากให้คุณเลือก https:// และให้คุณจัดการเว็บของคุณ ติด SSL และ redirect ไปที่ https:// ทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยของเว็บไซต์ของคุณ )

หมวดหมู่อุตสาหกรรม (ไม่จำเป็นต้องระบุก็ได้) : จะมีให้เราเลือกว่าเว็บไซต์ของเรานั้น จัดอยู่ในหมวดหมู่ใด  เช่น ศิลปะและบันเทิง, ยานยนต์, คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

เขตเวลาการรายงาน : ให้เลือก “ไทย” เพื่อเวลาที่ตรงกับประเทศไทยนั้นเอง เวลาตั้งค่า กำหนดต่างๆ จะได้ไม่ต้องเหนื่อย บวกจำนวน ชม. เอง

 

หลังจากนั้นก็กดปุ่ม “รับรหัสการติดตาม” แล้วก็กด “ยอมรับเงื่อนไข

 

4. ระบบจะนำมาหน้าที่มี แท็กไซต์สากล รวมถึงมี รหัสติดตาม อยู่ในนั้นด้วย (ตามภาพ) คุณสามารถนำ script นี้ไปติดเว็บไซต์ที่คุณต้องการ ติดตาม ได้

code-tracking-page - สมัคร google analytics

 

วิธีการนำ แท็กไซต์สากล ไปติดในเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเก็บสถิติต่างๆ ในเว็บของคุณ จากการเข้าชมเว็บไซต์ของผู้ชม

  • คัดลอก แท็กไซต์สากล นี้
  • แล้ววางโค้ด (แท็กไซต์สากล) นี้เป็นรายการแรกใน <HEAD> ของหน้าเว็บทุกหน้าที่คุณต้องการติดตาม

จะได้ดังภาพด้านล่าง

ga code - สมัคร google analytics

 

จบแล้วครับ ขั้นตอนการสมัคร google analytics สามารถนำ แท็กไซต์สากล ไปติดที่เว็บที่เราต้องการ (ถ้าต้องการตรวจสอบว่าเว็บไซต์เรานั้น แท็กไซต์สากล ทำงานหรือไม่ >>> คลิกที่นี่เพื่ออ่านวืธีตรวจสอบ!!!)

แต่ส่วนการเขียน Code เพื่อติดตาม ส่วนต่างๆ กับ Google Analytics นั้นอาจจะต้อง มีความรู้ทางด้านการเขียนโค๊ดในระดับนึง ถึงสามารถที่จะ ติดตาม หรือ track ส่วนต่างๆ ได้ตามที่เราต้องการได้

แต่ถ้าหากอยากติดตามได้ โดยที่ไม่ต้องมีความรู้ด้านการเขียนโค๊ด ทาง ridshare ก็มีวิธีการให้ครับ การติดตั้ง google analytics ผ่าน google manager ฉบับง่ายๆ คลิกอ่านได้เลยที่นี่

 

ทาง ridshare ก็หวังว่าผู้อ่านคงได้รับความประโยชน์จากบทความนี้ไม่มากก็น้อย สามารถแสดงความคิดเห็นกันได้ หากถูกใจ หรือคิดว่ามีประโยชน์สามารถแชร์ให้เพื่อนๆ ได้เลยครับ

 

บทความต่อเนื่อง

ตอนที่ 2 : วิธีใช้งาน google analytics เบื้องต้น สั้นๆ แต่เข้าใจง่าย : GA Part 2

ตอนที่ 3 : การสร้าง goal (เป้าหมาย) ใน Google Analytics : GA Part 3

 

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *