Google AnalyticsGoogle Tag Manager

การสร้าง Event Click ใน Google tag manager : GTM Part 5

การสร้าง event click นั้นไม่ยากอย่างที่คิด สามารถติดตามคุณผู้ชมที่เข้ามาชมเว็บไซต์ว่าเขา ได้คลิกอะไรไปบ้างได้ หรือเราอาจจะอยากรู้ว่า ปุ่ม “ซื้อ” มีการคลิกกี่ครั้งต่อวัน เพื่อนำไปวิเคราะห์ยอดขายว่า ต้องปรับปรุงอย่างไร เช่น คลิกวันละ 43 ครั้ง แต่ยอดขายจริงได้แค่ 4 ครั้งเอง แสดงว่าหลังจากที่ผู้ชมคลิกปุ่มไปแล้ว อาจเกิดเปลี่ยนใจไม่ดำเนินการชำระเงินต่อ ด้วยสาเหตุอะไร สามารถนำไปวิเคราะห์ต่อยอดได้ เป็นต้น

 

วันนี้ทาง ridshare มาบอกวิธีการสร้างพร้อมกับตัวอย่างการสร้างไปเลย เพื่อให้คุณผู้ชมเห็นภาพ และเข้าใจตรงกันครับ

ก่อนอื่นเลย ถ้าคุณผู้ชมเข้ามาในหน้านี้ แล้วยังไม่เข้าใจว่า Event Google Analytics คืออะไร มีกี่ประเภท > คลิกที่นี่เพื่ออ่าน !!!

 

ประเภทการติดตาม : การคลิก

เป็นการติดตามส่วนที่เราสนใจ ดูว่ามีคุณผู้ชมคลิกปุ่มนั้นกี่ครั้ง หรือ คลิกปุ่มไหนเยอะพิเศษในส่วนเรากำลังสนใจ เช่น ส่วน Header ของเว็บไซต์ เมนูใด ที่คุณผู้ชมสนใจคลิกมากที่สุด เพื่อสามารถนำไปปรับปรุงให้ตอบโจทย์คุณผู้ชมมากที่สุด อาจจะทำให้ยอดขายเราเพื่มมากขึ้น หากเป็นเว็บขายของ เป็นต้น

ขั้นตอนการเข้าไปตั้งค่าเบื้องต้น

1. คลิกที่ “แท็ก (Tag)”

2. คลิกปุ่ม “ใหม่ (New)”

3. ตั้งชื่อ Tag ใหม่ : Test Click Search (ในรูปด้านล่าง ชื่อว่า Test Click Search เนื่องจากผมจะทดสอบ การคลิกที่ปุ่มค้นหา)

4. (ในส่วนการกำหนดค่าแท็ก) ประเภทแท็ก : Google analytics – Universal Analytics

5. (ในส่วนการกำหนดค่าแท็ก) ประเภทการติดตาม > เหตุการณ์

6. (ในส่วนการกำหนดค่าแท็ก) หมวดหมู่ : Click  (ขึ้นอยู่กับเราว่าอยากให้เป็นหมวดหมู่อะไร เพื่อให้ง่ายต่อการรวมกลุ่ม หากการติดตาม ด้วยการ Click เป็นจำนวนมาก) * จำเป็นต้องใส่

7. (ในส่วนการกำหนดค่าแท็ก) การทำงาน : {{Click Classes}}  (เพื่อให้รู้ว่า เมื่อคลิกแล้ว Class ของ Element นั้นคือ Class อะไร แล้วทำงานถูกต้องตามที่เราอยากได้ไหม) * จำเป็นต้องใส่

8. (ในส่วนการกำหนดค่าแท็ก) ป้ายกำกับ : {{Click Element}}

(เพื่อให้รู้ว่า เมื่อคลิกแล้ว Element นั้นคือ Tag อะไร มีรายละเอียดอะไรบ้าง เช่น <a class=”btn-home” href=”https://ridshare.com”>ridshare</a> เป็นต้น) * ไม่จำเป็นต้องใส่ เว้นว่างได้

9. (ในส่วนการกำหนดค่าแท็ก) ค่า : ผมเว้นว่างไว้ เพราะเนื่องจากปุ่มค้นหา ไม่มีค่าอะไร ที่จะนำมาวิเคราะห์ดังนั้นผมเลยเว้นว่างไว้ แต่สำหรับการติดตามประเภท Class เหมือนกัน Element เหมือนกัน เราอยากรู้ว่า คุณผู้ใช้ คลิก อันไหนมากกว่ากัน แบบนี้เราถึงใช้ค่า หรือ Value มาเทียบกันถึงจะเหมาะน่ะ แต่ก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะใช้ติดตามอะไร

10. (ในส่วนการกำหนดค่าแท็ก) การตั้งค่า Google Analytivs : เลือกตัวแปรที่เราเคยสร้างไว้นั่นก็คือ GA Tracking

3 – 10 ดูได้จากรูปด้านล่างครับ

event test click - การสร้าง event click

 

11. (ในส่วนการเลือกทริกเกอร์) : คลิกที่ว่างๆ ใต้ “การเลือกทริกเกอร์” > คลิกที่ปุ่ม “+” เพื่อสร้างทริกเกอร์ ไว้สำหรับติดตามว่า คุณผู้ชมคลิกปุ่มค้นหา เป็นจำนวนเท่าไร

12. ตั้งชื่อ ทริกเกอร์ : Click Search

13. ประเภททริกเกอร์ : การคลิก – องค์ประกอบทั้งหมด  (เนื่องจากเราต้องการทดสอบจากการคลิก ถ้าทดสอบอย่างอื่น สามารถเลือกได้ตามความต้องการ)

14.  ทริกเกอร์นี้เริ่มทำงานเมื่อ : คลิกบางรายการ (ถ้าเลือก คลิกทั้งหมด ไม่ว่าคลิกส่วนไหนๆ ก็หน้านั้น มันก็จะเก็บค่าทั้งหมด ดังนั้นเราไม่ต้องการ เราต้องการแค่ การคลิกที่ปุ่มค้นหาเท่านั้น จึงเลือกคลิกบางรายการ)

 

เนื่องจาก เราต้องการทดสอบการคลิก จากปุ่มค้นหา ผมก็ คลิกขวาที่ปุ่มค้นหา > ตรวจสอบ > ดูรายเอียดของปุ่ม พบว่า ใช้ Tag button และ class ชื่อว่า search-icon ผมเลยตัดสินใจ ทดสอบการคลิกปุ่มจาก class ถ้าหากคลิกค้นหาที่มี class search-icon ก็จะเก็บสถิติว่า มีการคลิกปุ่มแล้ว

ตัวอย่างทริกเกอร์ - การสร้าง event click

15. เริ่มการทำงานของทริกเกอร์นี้เมื่อเหตุการณ์เกิดขึ้นและเงื่อนไขทั้งหมดเป็นจริง (จากภาพด้านบน) : ผมจึงตั้งค่าดังนี้

Click Classes , เท่ากับ , search-icon

ในส่วนนี้คือ if ใน syntax programming เป๊ะเลยครับ ถ้าหากตรงเงื่อนไข ก็จะเก็บสถิติให้ แต่ถ้าไม่ตรงเงื่อนไขก็ไม่เก็บ

อธิบายส่วนที่ 1 Click Classes > ต้องดูก่อนว่า Element หรือส่วนที่เราจะสนใจจะทดสอบ มีรายละเอียดอะไรบ้าง สามารถดึงอะไรมาเรียกใช้ทดสอบได้บ้าง ในตัวอย่างของผมมีแค่ class เลย ทดสอบจาก class ครับ (* คุณต้องแน่ใจว่า การใช้ class ในการทดสอบนั้น จะต้องไม่มี class นี้ในส่วนอื่น ถ้าหากคุณต้องการทดสอบปุ่มนี้ปุ่มเดียว ถ้าหากมี class นี้หลายส่วน เราจะทำการทดสอบได้ยาก เนื่องจากไม่รู้ว่า ปุ่มไหนกันแน่ ที่โดนคลิก)

อธิบายส่วนที่ 2 เท่ากับ > เนื่องจากผมทดสอบจากการ Click Classes ผมจึงเลือกส่วนนี้เป็น “เท่ากับ” จะทำให้ใส่ช่องที่ 3 ได้ง่าย (ส่วนนี้สามารถเลือกใช้ option อื่นได้ครับ ตามความเหมาะสม)

อธิบายส่วนที่ 3 search-icon > ส่วนที่สองเลือก เท่ากับ ส่วนนี้ใส่แค่ชื่อ class ที่เราต้องการตรวจสอบ

สรุปการทำงานทั้ง 3 ส่วน ถ้ามีการคลิกที่ส่วนใดก็ตาม ที่มี class ชื่อว่า search-icon ระบบก็จะเก็บสถิติเอาไว้ว่ามีการคลิกแล้ว และสามารถเก็บได้เรื่อยๆ หากมีการคลิกอีก

จะได้ผลลัพท์ตามรูปด้านล่าง

ผลลัพท์ - การสร้าง event click

 

16. กดปุ่ม “บันทึก”

ก็จะเจอหน้าตาแบบนี้

ผลลัพทธ์ทั้งหมด - การสร้าง event click

18. กดปุ่ม “บันทึก”

19. กดปุ่ม “ส่ง” > “นำไปใช้จริง” > “ทำต่อ”  การตั้งค่าทั้งหมด จะนำไปใช้งานจริง

 

*** วิธีการตรวจสอบ สามารถเข้าไปดูจาก google analytics > เรียลไทม์ > เหตุการณ์ หลังจากนั้นลองคลิกที่ปุ่มค้นหา ดูครับ ก็จะเห็นว่ามี แถบแบบนี้แสดงขึ้นมา ตามภาพด้านล่าง (ถ้าไม่ขึ้นมา แสดงว่า เราตั้งค่าอะไรผิดสักอย่าง อาจจะเป็น GA Code ที่เอามาใส่ใน Google tag manager ไม่ถูกต้อง หรืออาจจะใส่ชื่อ Class ผิด เป็นต้น)

เรียลไทม์ผลลัพทธ์ - การสร้าง-event-click

สรุป

ขั้นตอนการสร้าง event click ผ่าน google tag manager นั้นจะต้อง

สร้าง Tag (แท็ก) > กำหนดค่าของ Tag > เลือกประเภทแท็ก เป็นแบบ เหตุการณ์ 

สร้าง Trigger (ทริกเกอร์) > เลือกประเภททริกเกอร์ เป็นแบบ การคลิก – องค์ประกอบทั้งหมด (All Elements)

 

จากการทำข้างต้น เริ่มแรก อาจจะ มึนงง บ้างหรือมากมาย haha คงเป็นปกติครับ กว่าผมจะเข้าใจ ก็ใช้เวลาลองเล่นพอสมควร ยังไงก็ลองเล่นดูครับ ส่วนตัวผมคิดว่า ไม่ยากมากเท่าไรครับ แค่มันจะงง ตรงส่วนนี้ สามารถสร้างได้หลายที่ อะไรประมาณนี้ครับ

 

จบแล้วครับผม หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านไม่มากก็น้อย หากชอบ หรือถูกใจ ก็สามารถแชร์ให้เพื่อนๆ อ่านได้น่ะครับ สามารถติชม แสดงความคิดเห็นกันได้ครับ

 

บทความต่อเนื่อง

ตอนที่ 1 : วิธีติดตั้ง Google Analytics ผ่าน Google Tag Manager : GTM Part 1

ตอนที่ 1.2 : วิธีติดตั้ง ใช้งาน และตรวจสอบว่า tag script ที่เราติดไว้ ทำงานไหมด้วย Tag Assistant by Google

ตอนที่ 2 : มาเพิ่ม Variables ที่จำเป็นกับการทำ Event กันเถอะ : GTM Part 2

ตอนที่ 3 : การสร้าง Event ใน Google Tag Manager : GTM Part 3

ตอนที่ 4 : การสร้าง Event Page View Google Analytics ใน Google Tag Manager : GTM Part 4

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *