Google AnalyticsGoogle Tag Manager

event google analytic ใน google tag manager สร้างอย่างไร : GTM Part 3

วันนี้ทาง ridshare  จะพามารู้จักการสร้าง Event Google Analytic ใน Google tag manager ดูสิว่าจะยาก หรือง่ายขนาดไหน มาดูกัน

 *** ก่อนอื่นเลย ถ้าใครยังไม่ได้ ติดตั้ง google analytics ผ่าน google tag manager คลิกดูบทความ !!! จะได้ทำตามในบทความนี้ได้

*** มาเพิ่ม Variables ที่จำเป็นกับการทำ Event กันเถอะ คลิกดูบทความ!!! ก่อนที่จะไปลงมือสร้าง Event

 

Event ใน Google Analytics

คือ เหตุการณ์ต่างๆ ที่เราใช้ควบคุม ติดตาม การตอบโต้ ตอบสนอง ที่กำหนดไว้ จากผู้ชม ที่เข้ามาในเว็บไซต์ของเรา

  • เราต้องการให้เก็บสถิติการเข้าชมหน้าหลัก หรือหน้าแรกของเรา โดยผู้ชมนั้น ต้องอยู่หน้าแรก อย่างน้อย 3 นาที ถึงจะนับ 1 event
  • ผู้ชมเข้าหน้าไหนของเว็บไซต์ของเรามากที่สุด แต่ละหน้ามีจำนวนเข้าเท่าไรในเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา หนึ่งเดือนที่มา หรือแล้วแต่เราจะตั้งขอบเขต
  • ปุ่มสมัครสมาชิก ผู้ชมกดมาแล้วกี่ครั้ง แล้วสมาชิกแล้วกี่คน
  • Banner ที่ติดไว้ มีการกดคลิกที่แบนเนอแล้วเท่าไร ถ้าไม่มีเลย อาจเป็นเพราะเราวางแบนเนอ ไว้ตำแหน่งไม่ดีไหม
  • ผู้ชมซื้อสินค้าไปแล้วกี่คน
  • ฯลฯ สามารถทำอื่นๆ ได้อีกมากมาย

 

โดยประเภทการติดตามนั้นมี 7 ประเภท

1. การดูหน้าเว็บ (Page View) 2. เหตุการณ์ (Event) 3. ธุรกรรม 4. โซเซียล 5. ระยะเวลา 6. เติมแต่งลิงก์ 7. เติมแต่งแบบฟอร์ม

ประเภทการติดตาม google analytic ใน google tag manager - การสร้าง event page view

ridshare ถือว่าส่วนกำหนด Event Google Analytics นี้เป็นส่วนสำคัญที่สุด เพราะถ้าเรามีเป้าหมายในการกำหนดที่ชัดเจน ก็จะได้ผลลัพธ์ที่ต้องตามวัตถุประสงค์ แล้วสามารถนำไปปรับปรุง หรือดำเนินการได้หลายอย่างเลยทีเดียว อย่างเช่น ปรับปรุง website ทั้งหน้าตา โครงสร้าง ทำให้น่าอ่าน น่าซื้อมากยิ่งขึ้น และทำการตลาด ทำโฆษณาได้ เป็นต้น

ขั้นตอนการสร้าง Event

1. เข้าไปที่ Google Tag Manager (Login ให้เรียบร้อย)

2. คลิก New พิมชื่อ Tag ลงไป ในที่นี่ผม ตั้งชื่อว่า “Test Tag” คลิกที่ พื้นที่ว่างๆ ใต้ Tag Configuration

3. (ส่วนของการกำหนดค่าแท็ก) Tag Type >>> เลือก Universal Analytics  (อาจจะเลือกเป็นอย่างอื่นได้ หากเราต้องการใช้ เครื่องมือประเภทอื่น เช่น facebook pixel หรือ เครื่องมือวัด conversion ของ google ads เป็นต้น)

4. (ส่วนของการกำหนดค่าแท็ก) คลิกที่ช่อง ประเภทการติดตาม >>> การดูหน้าเว็บ (อาจจะเลือกเป็น เหตุการณ์, ธุรกรรม, โซเซียล, ระยะเวลา , อื่นๆ ตามความเหมาะสม ที่เราต้องการติดตาม ครับ)

5. (ส่วนของการกำหนดค่าแท็ก) การตั้งค่า Google Analytics >>> GA Tracking (ที่ผมมีให้เลือกเนื่องจากผมได้ตั้งค่าไว้ก่อนหน้านี้แล้ว คลิกที่นี่เพื่ออ่านบทความสร้างตัวแปร!!!) เราสามารถเลือกตัวแปร อื่นๆ ได้ตามที่เรากำหนดไว้ อาจจะมีหลายตัวแปรก็ได้

สร้าง Tag ชื่อ Test - event google analytic ใน google tag manager

 

6. (ส่วนของการเลือกทริกเกอร์) คลิกพื้นที่ว่างๆ ใต้ “การเลือกทริกเกอร์”

7. (ส่วนของการเลือกทริกเกอร์)  เราสามารถเลือก ทริกเกอร์ที่เราเคยสร้างไว้จากหน้านี้ได้ หรือถ้ายังไม่มี ให้กดที่ปุ่ม “+”

8. (ส่วนของการเลือกทริกเกอร์) ตั้งชื่อทริกเกอร์ (ผมตั้งไว้ Test Trigger)

9. (ส่วนของการเลือกทริกเกอร์) ประเภททริกเกอร์ : ผมเลือกเป็นการดูหน้าเว็บ (อาจจะเลือกเป็นอย่างอื่นได้ ขึ้นอยู่กับสิ่งที่เราจะทดสอบ อาจจะเป็น DOM พร้อมใช้, หน้าต่างโหลด, องค์ประกอบทั้งหมด, เฉพาะลิ้ง เป็นต้น) ประเภทของทริกเกอร์ตามภาพด้านล่างประเภททริกเกอร์ - event google analytic ใน google tag manager

 

10. (ส่วนของการเลือกทริกเกอร์) ทริกเกอร์นี้เริ่มทำงานเมื่อ : การดูหน้าเว็บทั้งหมด (จะมีให้เลือก 2 แบบ 1. การดูหน้าเว็บทั้งหมด 2. การดูหน้าเว็บบางรายการ )

อธิบาย 

การดูหน้าเว็บทั้งหมด คือ ใช้ติดตามทุกหน้า ที่ผู้ใช้เข้าชม

การดูหน้าเว็บบางรายการ คือ ใช้ติดตามบางหน้า ที่ผู้ใช้เข้าชม ขึ้นอยู่ว่าเราได้กำหนด และตั้งเงื่อนไขว่าอย่างไร

จะได้ตามภาพด้านล่าง

ผลลัพท์ทริกเกอร์ - event google analytic ใน google tag manager

11. กดปุ่ม “บันทึก (Save)”

ผลลัพธ์ที่ได้กำหนดไว้ จะออกมาเป็นแบบนี้ ตามภาพด้านล่าง

ผลลัพธ์การสร้าง tag ใน google tag manager - การสร้าง event page view

 

12. กดปุ่ม “ส่ง” > “นำไปใช้จริง” > “ทำต่อ” เพื่อนำ event ที่เราสร้างนั้นขึ้นไปใช้งานจริงบน server

 

จบแล้วครับ กับการสร้าง event google analytic ใน google tag manager ประกอบไปด้วย ประเภทของ tag, ประเภทการติดตาม, triggering นี่เป็นส่วนหลักๆ ในการสร้าง event หากเราพยายามฝึกทำ ก็จะเข้าใจได้ไม่ยาก แรกๆ ผมก็งมนานเหมือนกันครับ กว่าจะปะติดปะต่อกันได้ ผมพยายามอธิบายให้เห็นภาพมากที่สุดละครับ แต่ไม่ทราบว่าผู้ชมเข้าใจกันหรือปล่าว

หากชอบใจ ถูกใจ อย่าลืมแชร์ให้เพื่อนๆ อ่านบทความกันน่ะครับ หรืออ่านแล้วคิดว่าควรปรับปรุง แต่งเติมส่วนไหน อาจมีจุดที่ผิดพลาด สามารถแสดงความคิดเห็น ติชม ได้ครับ

 

บทความต่อเนื่อง

ตอนที่ 1 : วิธีติดตั้ง Google Analytics ผ่าน Google Tag Manager : GTM Part 1

ตอนที่ 1.2 : วิธีติดตั้ง ใช้งาน และตรวจสอบว่า tag script ที่เราติดไว้ ทำงานไหมด้วย Tag Assistant by Google

ตอนที่ 2 : มาเพิ่ม Variables ที่จำเป็นกับการทำ Event กันเถอะ : GTM Part 2

ตอนที่ 4 : การสร้าง Event Page View Google Analytics ใน Google Tag Manager : GTM Part 4

ตอนที่ 5 : การสร้าง Event Click ใน Google tag manager : GTM Part 5

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *