ต่อทะเบียนรถมอไซค์ จักรยานยนต์ (ยื่นจ่ายภาษี) พร้อมต่อ พรบ.
ต่อทะเบียนรถมอไซค์ จักรยานยนต์ หรือยื่นจ่ายภาษี พร้อม ต่อพรบ. นั้นไม่ได้มีหลายขั้นตอนอย่างที่คิด วันนี้ ridshare จะพาทุกท่านมาดูขั้นตอนการต่อทะเบียน พร้อมต่อ พรบ.
เคยเห็นใครต่อใครเวลาจะทำก็จะไม่อยากไปต่อ กลัวเสียเวลาทั้งวันบ้าง กลัวร้อนบ้าง กลัวนานบ้าง แต่ถ้าอ่านบทความนี้แล้ว เราจะจัดการชีวิตง่ายขึ้น เพราะทาง ridshare ได้แนะนำด้านล่างไว้หมดแล้ว เชฺิญผู้ชมมาอ่านได้เล๊ย
ก่อนอื่นเลย ต้องเข้าใจคำศัพท์ต่อไปนี้ก่อน (สาระสักนิดนึงน่ะ)
- ทะเบียนรถ คือ ป้ายที่บอกเลขทะเบียน เพื่อระบุว่ารถคันนี้มีเลขทะเบียนอะไร เป็นรถของใคร เป็นต้น
- ภาษีรถ (ทุกประเภท) มีอายุ 1 ปี ดังนั้นเราต้องต่อภาษีรถทุกปี โดยสามารถต่อภาษีรถล่วงหน้าก่อนทะเบียนหมดอายุไม่เกิน 3 เดือน
- ตรอ. ย่อมาจาก สถานตรวจสภาพรถเอกชน ซึ่งมีไว้ตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ รถยนต์ ก่อนเสียภาษีรถ (โดยถ้ารถจักรยานต์ที่มีอายุ 5 ปีขึ้นไป และรถยนต์ที่มีอายุ 7 ปีขึ้นไป จะต้องตรวจสภาพก่อน ถึงจะต่อภาษีรถได้ แต่ถ้าไม่ถึง ไม่ต้องตรวจสภาพครับผม)
- พ.ร.บ. ย่อมาจาก พระราชบัญญัติ (แต่เรามักจะติดเขียนเป็น พรบ. อาจจะเผื่อความง่ายในการพิมพ์ ทาง ridshare ก็เช่นกันที่เขียน พรบ. ฮ่าๆ) ซึ่ง พรบ. จะคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ไม่ว่าจะเป็นรถประเภทใด แต่รถทุกคันต้อง ทำหรือต่อ พรบ. นั้นเอง เพราะเป็นกฎหมายบังคับ (คุ้มครองคนในรถ เมื่อเกิดอุบัติเหตุนั้นเอง)
พรบ. สำหรับ มอไซค์ มีแค่บริษัทเดียว คือ บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด
หาข้อมูลอ่านเพิ่มเติมได้ที่ > กรมการขนส่งทางบก
ตรอ. ที่เราไปตรวจสภาพรถ บวกกับ ต่อ พรบ. จะมีสัญลักษณ์ แบบนี้
หน้าตากระดาษที่ได้หลังจาก ชำระภาษีเรียบร้อยแล้ว
* เวลาทำการ การต่อตรวจสภาพรถ และต่อ พรบ. ประมาณ 8.00 – 17.00 น. *
* เวลาทำการ การต่อภาษีของขนส่ง ประมาณ 7.30 – 15.30 น. *
ดังนั้น ควรไปตั้งแต่ 10 โมง ครับ เพื่อให้มีเวลา ไม่ต้องรีบมากนัก
ต่อทะเบียนรถมอไซค์ ( ยื่นจ่ายภาษี ) พร้อม ต่อพรบ.
นั้น มี 2 แบบ
1. ต่อ พรบ. แล้วฝาก ยื่นจ่ายภาษีด้วย (แบบจ้าง)
2. ต่อ พรบ. แล้วไปยื่นจ่ายภาษีด้วยตัวเอง
*** ถ้าหากรถจักยานยนต์ มีอายุ 5 ปี ต้องตรวจสภาพรถ แต่ถ้าไม่ถึง 5 ปี ไม่ต้องตรวจสภาพรถ ***
ต่อพรบ แล้วไปยื่นจ่ายภาษีด้วยตัวเอง
1. ไป ตรอ. ในบริเวณใกล้เคียง เพื่อต่อ พรบ. และตรวจสภาพรถ
- สิ่งที่ต้องนำไป :
- เล่มทะเบียนตัวจริง ( เล่มสีเขียว ) หรือสำเนาเล่มทะเบียน
- เงิน ประมาณ 450 บาท ( ค่าต่อพรบ. 300 – 350 แล้วแต่ที่ + ค่าตรวจสภาพรถ 60 )
2. ต่อ พรบ. เรียบร้อยแล้ว ไปขนส่ง เพื่อยื่นจ่ายภาษีที่เคาน์เตอร์
- บางขนส่ง ต้องเลื่อนล้อต่อภาษี ( จ่ายภาษีที่ตู้รับชำระภาษี ขณะนั่งอยุ่บนรถ )
- บางขนส่งก็ หยิบบัตรคิว รอเรียกคิว จ่ายเงินภาษี
ต่อ พรบ แล้วฝาก ยื่นจ่ายภาษีด้วย (แบบจ้าง)
1. ไป ตรอ. ในบริเวณใกล้เคียง เพื่อต่อ พรบ. และตรวจสภาพรถ
- สิ่งที่ต้องนำไป :
- เล่มทะเบียนตัวจริง ( เล่มสีเขียว ) หรือสำเนาเล่มทะเบียน
- เงิน ประมาณ 550 บาท ( ค่าต่อพรบ. 300 ถึง 350 แล้วแต่ที่ + ค่าตรวจสภาพรถ 60 + ค่าฝากยื่นจ่ายภาษี 80 ถึง 100 แล้วแต่ที่ )
หมดแล้ว ! ข้อมูลสำหรับการต่อทะเบียนรถ พร้อมด้วย พรบ. แต่เดี่ยวก่อนคุณลองเลื่อนลงมาข้างล่าง เพื่อจะได้ข้อมูลอีกสักหน่อยครับ
อ่านมาถึงจุดนี้แล้ว ทาง ridshare ก็มีรายละเอียดที่ลงลึกสำหรับ คนที่อยู่ จังหวัดกรุงเทพมหานคร และ จังหวัดสงขลา (หาดใหญ่)
ใครที่ไม่ได้อยู่จะต่อทะเบียนที่จังหวัดกรุงเทพ หรือจังหวัดสงขลา (หาดใหญ่) สามารถข้ามไปอ่านตอนท้ายได้เลย
การต่อทะเบียนรถมอไซค์ ( ยื่นจ่ายภาษี ) พร้อม ต่อพรบ. ด้วยตัวเอง ที่จังหวัดกรุงเทพ ฉบับ ridshare
1. ไป ตรอ. ที่ขนส่ง จตุจักร เพื่อต่อ พรบ. และตรวจสภาพรถ
- สิ่งที่ต้องนำไป :
- เล่มทะเบียนตัวจริง ( เล่มสีเขียว ) หรือสำเนาเล่มทะเบียน
- เงิน ประมาณ 450 บาท ( ค่าต่อพรบ. 300 – 350 แล้วแต่ร้าน + ค่าตรวจสภาพรถ 60 )
ตรอ. จะอยู่ใน ขนส่ง เลย พอเข้าประตูก็ขับตรงไป แล้วเลี้ยวซ้าย (ถ้าจำไม่ผิด) หลังจากนั้นก็จะเจอ ตรอ. มีให้เลือกหลายร้านเลย ผู้ชมเลือกได้เลยว่าจะ ตรวจสภาพ และ ต่อ พรบ. ร้านไหนดี (ผมแนะให้ว่า เน้นที่ร้านคนน้อยๆ จะได้ไม่ต้องรอนาน ฮ่าๆ เพราะราคาก็ไม่ต่างกันมาก)
- นำรถให้พนักงาน ตรวจสภาพหาก อายุเกิน 5 ปีสำหรับมอไซค์ หากไม่ถึง ไม่ต้องตรวจสภาพ
- มานั่งรอเรียก เลขทะเบียนรถ เพื่อ ต่อ พรบ. พร้อมจ่ายเงิน ประมาณ 450 บาท
- จะได้ เล่มทะเบียนรถ และพรบ. (เป็นซองจดหมายและมี พรบ. อยู่ด้านใน) พร้อมใบตรวจสภาพรถ (เก็บซอง พรบ. ไว้ให้เรียบร้อย ส่วนเล่มทะเบียน กับใบตรวจสภาพรถ นำไปต่อภาษีรถ)
2. ตรวจสภาพรถ และต่อ พรบ. เรียบร้อยแล้ว ไปที่เลื่อนล้อต่อภาษี (อยู่บริเวณ อาคาร 3 ไม่แน่ใจน่ะ)
- ใบตรวจสภาพ
- เล่มทะเบียน หรือสำเนา
- เงินจำนวน 100 บาท แต่ถ้าหากภาษีขาดเกิน 1 เดือนจะต้องจ่ายเพิ่ม 1 บาท (101 บาท) ถ้า 10 เดือนก็ต้องจ่ายเพิ่ม 10 บาท (110 บาท)
ในส่วนการเลื่อนล้อต่อภาษี อาจจะต้องใช้เวลา รอหน่อยนึง เนื่องจากอาจจะมีคนมาใช้บริการเยอะ แต่ส่วนการยื่นภาษีนั้น ไม่นาน ประมาณ 5 นาที ก็เรียบร้อย
จะได้ กระดาษกรมการขนส่ง (สีชมพูขอบฟ้า) มาแผ่นนึง ของปีปัจจุบันที่ทำ >> นำไปแปะที่เรา ที่เห็นได้ชัดเจน
ผมมักจะแปะไว้ใต้เบาะ แล้วเอาเทปมาแปะทับ เผื่อป้องกัน ฝน หรือน้ำ ที่อาจจะทำให้ กระดาษนั้นฉีกขาดได้
จบละสำหรับการต่อทะเบียนที่จังหวัด กรุงเทพ
การต่อทะเบียนรถมอไซค์ ( ยื่นจ่ายภาษี ) พร้อม ต่อพรบ. ด้วยตัวเอง ที่จังหวัดสงขลา (หาดใหญ่) ฉบับ ridshare
1. ไป ตรอ. แถวๆ สามแยกคอหงส์ เพื่อต่อ พรบ. และตรวจสภาพรถ
- สิ่งที่ต้องนำไป :
- เล่มทะเบียนตัวจริง ( เล่มสีเขียว ) หรือสำเนาเล่มทะเบียน
- เงิน ประมาณ 450 บาท ( ค่าต่อพรบ. 300 – 350 แล้วแต่ร้าน + ค่าตรวจสภาพรถ 60 )
ตรอ. จะอยู่ติดถนนใหญ่เลย ตรอ. มีให้เลือกอยู่ 2 ร้าน มีร้านแรก ที่เราขับรถมาถึงก่อน กับอีกร้านที่ขับรถเลยไปหน่อย ใกล้ 3 แยกคอหงส์ เลือกได้เลยว่าจะ ตรวจสภาพ และ ต่อ พรบ. ร้านไหนดี
- นำรถให้พนักงาน ตรวจสภาพหาก อายุเกิน 5 ปีสำหรับมอไซค์ หากไม่ถึง ไม่ต้องตรวจสภาพ
- มานั่งรอเรียก เลขทะเบียนรถ เพื่อ ต่อ พรบ. พร้อมจ่ายเงิน ประมาณ 450 บาท
- จะได้ เล่มทะเบียนรถ และพรบ. (เป็นซองจดหมายและมี พรบ. อยู่ด้านใน) พร้อมใบตรวจสภาพรถ (เก็บซอง พรบ. ไว้ให้เรียบร้อย ส่วนเล่มทะเบียน กับใบตรวจสภาพรถ นำไปต่อภาษีรถ)
2. ตรวจสภาพรถ และต่อ พรบ. เรียบร้อยแล้ว ไปที่ขนส่ง 2 อยู่บริเวณ สถานีตำรวจคอหงส์ จะถึงก่อนสถานีตำรวจ
- ใบตรวจสภาพ
- เล่มทะเบียน หรือสำเนา
- เงินจำนวน 100 บาท แต่ถ้าหากภาษีขาดเกิน 1 เดือนจะต้องจ่ายเพิ่ม 1 บาท (101 บาท) ถ้า 10 เดือนก็ต้องจ่ายเพิ่ม 10 บาท (110 บาท)
มาถึงจะไม่มีที่ให้จอดข้างหน้ากรมการขนส่ง 2 เราต้องกลับรถ ไปจอดที่บนดินว่างๆ สำหรับจอดรถ แต่จะอยู่ห่างจากขนส่ง นิดหน่อย เมื่อจอดรถมอไซค์เรียบร้อย ก็เดินไปที่อาคารขนส่ง
- ขอบัตรคิว จากพนักงานด้านหน้า ที่หมายเลข 1
- เข้าไปในห้องรอเรียกคิว
- ชำระภาษีที่เคาน์เตอร์ (ไม่แน่ใจว่าเป็น เคาน์เตอร์ 1 กับ 3 หรือปล่าว ตอนไปทำตอนนั้น ช่วงเที่ยง ชำระที่เคาน์เตอร์ 3)
อาจจะใช้เวลานิดนึง ถ้าช่วงนั้นเรามาใช้บริการ แล้วคนเยอะ ตอนผมไปทำ ก็รออีก 20 คิว ก็นั่งรอประมาณ ครึ่ง ชม. ถ้าว่างเช้าๆ ก็จะดีน่ะครับ คนน่าจะน้อยอยู่
จะได้ กระดาษกรมการขนส่ง (สีชมพูขอบฟ้า) มาแผ่นนึง ของปีปัจจุบันที่ทำ >> นำไปแปะที่เรา ที่เห็นได้ชัดเจน
ผมมักจะแปะไว้ใต้เบาะ แล้วเอาเทปมาแปะทับ เผื่อป้องกัน ฝน หรือน้ำ ที่อาจจะทำให้ กระดาษนั้นฉีกขาดได้
จบละสำหรับการต่อทะเบียนที่จังหวัด สงขลา (หาดใหญ่)
แต่ปัจจุบันนี้มีการต่อทะเบียนรถมอไซค์ และรถยนต์ออนไลน์ได้แล้ว แต่ทาง ridshare ยังไม่ได้ทดลองต่อ ไว้ลองต่อผ่านออนไลน์เมื่อไร จะนำมาแชร์ต่อครับ หรือถ้าใครเคยต่อผ่านออนไลน์ แล้วอยากจะแชร์ข้อมูล อยากเล่าให้ฟังก็สามารถส่งมาที่ แฟนเพจ ridshare ได้ครับ > ridshare fanpage
จบแล้วสำหรับข้อมูลการต่อทะเบียนรถมอไซค์ ผมเคยเห็นคน จ้างเขาไปต่อให้ บางทีค่าจ้างไปต่อให้ ราคาก็ 2 เท่า จากราคาจริงเลยละครับ ดังนั้น ถ้าว่าง ก็ไปต่อเองดีกว่าครับ
อ่านข้อมูลที่ทาง ridshare นำมาบอกจนหมดเปลือกขนาดนี้แล้ว เลือกเวลาไปเช้าๆ หน่อย ก็น่าจะไม่เกิน ครึ่ง ชม. รวมตรวจสภาพรถ ต่อพรบ. และจ่ายภาษีรถ
หากอ่านแล้วถูกใจ ชอบใจ อย่าลืมแชร์ให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน หากผิดพลาดข้อไหน ส่วนไหน สามารถติ บอกได้ หรืออยากให้ปรับปรุงตรงส่วน แสดงความคิดเห็นกันได้ครับ